วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

สมาชิกใหม่ (เศรษฐีก้านป่อง +เฟิร์น?)

สายๆ วันมาฆะ  ที่ผ่านมานี้...ว่าจะหาเช่าหนังสนุกๆ มาดูซักเรื่อง..แต่ก็ผิดหวัง เพราะพวกที่ออกใหม่ๆ คนก็แย่งเช่าไปซะหมดแล้ว....
ขากลับเลยแวะคุยกับ...พี่ที่ร้านต้นไม้ (ทางผ่าน) ซะหน่อย...หลังจากที่ไม่ได้แวะไปค่อนข้างนาน... สุดท้าย...ก็ได้เสียตังค์ จนได้...

ต้นแรก...ก็เจ้า "เศรษฐีก้านป่อง" ...ซึ่งก็คงไม่ได้หายากอะไรตอนนี้  (เพียงแต่ที่บ้าน ยังไม่มี).....กว่าจะได้มาลงกระถางที่บ้าน...ก็ไปคุยป้อกับเจ้าของร้านอยู่นานพอสมควร ....กว่าแกจะยอมขายให้......เห็นหน่วยก้านแล้ว โตมาท่าทางจะสวยเอาเรื่องอยู่ (มีใบแหว่งอยู่ใบนึง..ไม่น่าจะเป็นปัญหา)....









ก่อนออกจากร้าน ...ตาเจ้ากรรมก็ไปเจอเฟิร์น..อีกกระถาง..ซุกอยู่ตรงมุมร้าน...สะดุดตากับลักษณะใบที่พริ้วสวยมากๆ แต่ก็ค่อนข้างแข็งแรง.... ดูจะไม่ค่อยถอดใจกับอากาศหน้าร้อนของลำปาง ง่ายๆ...ที่สำคัญมีอยู่หลายกอ...อาจจะเป็นเพราะเจ้าของร้าน ยังไม่ได้แยกออกมาก็เป็นได้.....พยาม search หาชื่อใน web แล้ว...ยังไม่เจอครับ (ตอนแรกคิดว่าเป็น "ปันหยี" แต่ดูแล้วปลายใบแตกต่างกันมาก....
......ท่านผู้รู้ช่วยบอกทีนะครับ...


วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555

สับปะรดสี

ช่วงนี้ฮิต ปลูกสับปะรดสีกันเยอะ...เลยลองซื้อมาลงกระถาง 1 ต้น (150 บาท..แพงไปมั้ยน๊า.....) เห็นคนขายบอกว่า ทดแดดนักแล... click อ่านข้อมูลจาก web แล้ว..มีหลายสายพันธุ์ มากๆ ดูผ่านๆ แล้วลายตาเป็นที่สุด...
.....................................................................................................
 บทความจาก web ...
 Bromeliad หรือสัปรดสี มีลักษณะเป็นกอ สูง 5-40 เซนติเมตร มีมากมายหลายชนิด หลายขนาดและหลายรูปทรง ใบมีสีสวยจึงใช้เป็นไม้กระถางประดับโดยไม่ต้องรอดอกเราสามารถ ให้สับปะรดสีผลิ ดอกได้ ้ตามช่วงเวลาที่ต้องการโดยใช้สารเคมีบางประเภทฃ การรดน้ำควรให้ขังตามซอกใบ ต้นจะดูดซึมน้ำไปใช้ได้ จัดเป็นจุดเด่นแทนดอกไม้ได้ขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ

Family : Bromelidceae Bromelieds หรือสับปะรดสี “สับปะรดประดับ “มีถิ่นกำเนิดแถบทวีปเอมริกาเกือบทั้งนั้น พบอยู่ในทวีปแอฟริกาใต้เพียงชนิดเดียว คือ Pilcairnaia feliciana เป็นพืชที่ขึ้นได้ตั้งแต่ป่าดงดิบชื้นที่สุด ถึงอากาศแล้งของทะเลทรายส่วนใหญ่เป็นพืชกระจายพันธุ์ตั้งแต่อเมริกากลางจาก เวอร์จิเนีย เม็กซิโก และจากอินดิสตะวันออกถึงกลางประเทศอาร์เจนตินาและชิลี สับปะรดสีอยู่ใน
สกุลBromelidceae มีประมาณ60 สกุล และมากกว่า 2000 ชนิด แต่ที่นิยมปลูกในปัจจุบันมีอยู่10 ชนิดคือ 1. Ananas 2. Aechmea 3. Billbergia 4. Cryptanthus 5. Dyckia 6. Guzmania 7. Neoregelia 8. Nidularium 9. Tillandria 10. Vriesia

 วิธีการปลูกต้นสับปะรดสี ควรคำนึงถึงสภาพความแตกต่างของ Bromeliad ทั้งสองกลุ่มด้วยกัน คือ 1. ประเภทไม้ดิน ได้แก่ พันธุ์ต่าง ในสกุล Ananas,Quesnelia,Puya,Wittrockia,Portea จะปลูกเป็นไม้ ดินเท่านั้น กรณีปลูกลงกระถางควรเตรียมวัสดุปลูกดังนี้ ดินร่วน 2 ส่วน ทรายหยาบ 1 ส่วน ใบไม้ผุ หรือ 1 ส่วน(เปลือกถั่ว, ขุยมะพร้าว,แกลบดำ) ปุ๋ยหมัก 1 ส่วน 2. ประเภทอากาศได้แก่พันธุ์ต่างๆในสกุลAechmia,Cryptanthus,Tillandsia,Guzmania,Neoregelia,Vriesia เป็นต้น 

กรณีปลูกลงกระถางวัสดุปลุกมีหลายสูตร แล้วแต่สะดวกในการจัดหา ดังนี้ สูตรที่ 1 ดิน 1 ส่วน ทรายหยาบ 1 ส่วน พีท 1 ส่วน ใบไม้ผุ 1 ส่วน ออสมันด้า 1 ส่วน สูตรที่ 2 พีทมอส 1 ส่วน เพอร์ไลท์ 1 ส่วน สูตรที่ 3 ใยมะพร้าวล้วนๆ กรณีปลูกบนใบไม้แห้งหรืออุปกรณ์ต่างๆ เช่น ก้อนหิน เปลือกหอย เครื่องสานต่างๆ สกุลที่นิยมปลูกแบบนี้ ได้แก่ Aechmia, Tillandsia,Vriesia การดูแลรักษา สับปะรดสี 1. แสงสว่าง ถ้าแสงสว่างเหมาะสม ทำให้สีสันของใบและดอกเปล่งปลั่งเป็นเงางาม เช่น - ถ้าต้องการแสงเต็มวันและอยู่กลางแจ้ง เช่น สกุล Puyas, Dyckias และ Heachlias - ต้องการแสงร่มรำไร เช่น สกุล Aechmeas, Neorogelias, Billbergias, Guzmania, Nidularium, Tillandsia 2. อุณหภูมิ แต่ละสกุลแต่ละสายพันธุ์มีความต้องการอุณหภูมิที่แตกต่างกัน โดยรวมแล้วอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 18-26 องศาเซลเซียส 3. การให้น้ำ ควรคำนึงถึงลักษณะของใบ โดยทั่วไปมี 2 แบบ คือ - ใบสามเหลี่ยมแคบ มีเกร็ดสีเทาปกคลุมอยู่ พวกนี้จะเก็บน้ำตามเนื้อเยื่อของใบ และปรับตัวเข้ากับสภาพแล้งได้ดี ได้แก่สกุล Tillandsie และ Dackias กรรีหน้าแล้งและหน้าหนาว อาจจะพ่นน้ำให้ทุก 3-5 วัน บางชนิดอาจถึง 7 วัน - ใบเป็นแผ่นแบนเรียบ เช่น ใบสัปรดทั่วไป ได้แกสกุล Aechmea, Guzmania, Neoregelia, Ananas, Cryptanthus, Vriesia พวกนี้จะมีแอ่งน้ำอยู่บนยอด อาจรดน้ำทุกๆ 2-4 วัน 4. การให้ปุ๋ย - ใช้ปุ๋ยละลายช้าผสมลงในวัสดุปลูก โดยท่วไปใช้ปุ๋ยออสโมโค้ท สูตร 14-14-14 - ใช้ปุ๋ยเกร็ดละลายน้ำฉีดพ่นทุกๆสัปดาห์ ต่อครั้ง โดยใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 20-20-20 หรือ 18-18-18 5. ความชื้น ควรใช้ความชื้นประมาณ 30-50% การแยกหน่อ วิธี การนั้นง่ายมากๆ เมื่อสับปะรดสีมีดอกแล้วเขาจะแทงหน่อออกมาจำนวนมาก ต้นแม่ที่ติดดอกจะค่อยแห้งตายไป พอหน่อโตแข็งแรงพอสมควรแล้ว (สังเกตใบแข็งๆ ไม่อ่อนนิ่ม) ก็แยกจากต้นแม่ ถ้าไม่ชัวร์ว่าหมดหรือยัง หักมาแต่หน่อก็ได้ค่ะ ไม่ต้องถอนรากถอนโคนแบบอิฉัน ที่อิฉันขุดออกมาหมดเพราะกระถางเดิมมันจะปริแล้ว หน่อดันค่ะ หน่อ เขาจะติดกับต้นแม่ด้วยลำต้นแท้จริงเป็นก้านแข็งๆ (จินตนาการเอาเพราะส่วนมากก้านนี้จะจมอยู่ในเครื่องปลูก) พยายามหักหรือใช้เสียมคมตัดก้านนี้ให้ได้เนื้อก้านแยะ อย่าตัดโดนยอดที่หุ้มด้วยกาบใบสวยๆ นั่นจะไม่รอดจ้ะ