ตอนแรกก็เข้าใจผิดว่าชื่อ "ดีหมี"
ไม่แน่ใจว่าเป็น ชื่อเรียกตามภาษาเหนือ หรือ ทั่วๆไป, แต่ที่แน่ๆ คนทางภาคเหนือน่าจะพอคุ้นๆ โดยเฉพาะคนที่ชอบกินลาบ (ลาบเหนือนะครับ) ครั้งแรกที่ได้ลองกิน ก็เนื่องมาจากไปซื้อลาบหมู (สุกนะครับ) ที่ร้านอุ้ยทา แถวๆ แพะหนองแดง..... พอได้กินจะได้รสชาด ที่ชัดเจนที่สุด คือรสขม ที่ปนด้วยรสหวานเฉียบ.....ขมและหวานจนติดลิ้น (ต้องได้ลองเองถึงจะเข้าถึง).....
อยากให้พ่อ ได้ชิมจัง!!!
....................................................................................
ข้อมูลจาก web :
ชื่อพื้นเมือง : ดีปลากั้ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barleria strigosa Willd.
ชื่อวงศ์ :ACANTHACEAE
ลักษณะทั่วไป: "สังกรณี" ถูกบรรจุเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง เพราะมีสรรพคุณทางยาพื้นบ้านหลายขนาน โดยในหมู่ของชาวล้านนาที่ใช้ทั้งต้นมาต้มน้ำดื่ม เป็นยาบำรุงกำลัง ส่วนรากผสมสมุนไพรตำรับที่ 5 ต้มดื่มน้ำเช่นกัน เป็นยาร้อนสามารถขับน้ำคาวปลาหลังคลอดบุตรได้ ขณะที่ตามตำรายาไทยใช้รากต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ แก้โลหิตกำเดา แก้ร้อนในกระหายน้ำ ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ เป็นต้น เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กกึ่งล้มลึก อยู่ในวงศ์CANTHACEAE ลำต้นตรง เปลือกต้นสีเทา เรียบ สูงราว 30-100 ซม. ใบ เป็นใบเดี่ยวขึ้นเรียงตรงข้ามตามต้น รูปทรงรี กว้าง 4-7 ซม. ยาว 10-15 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ มีเส้นแขนงใบ 5-7คู่ ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบและปลายยอด แต่ละช่อมีดอกย่อยเล็กจำนวนมาก ดอกย่อยไม่มีก้าน เวลาบานกลีบดอกย่อยสีม่วงแกมน้ำเงิน ที่ปลายกลีบแยกเป็นสองปาก มีกลีบเลี้ยงปลายแยกเป็น 4 แฉก ผล รูปทรงแบน พอแก่จัดจะแห้งและแตกได้ในที่สุด พืชชนิดนี้ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สรรพคุณ : ราก - ต้มแก้ไข้และแก้หืดหอบโรคความดัน
ลำต้น - ต้มบำรุงโลหิตบำรุงธาตุขับลมในลำไส้
ใบ - ใช้ปรุงอาหาร มีรสขม ใบอ่อน
ยอด - สด รับประทานกับอาหารประเภท ลาบ ป่น ต้มจิ้มน้ำพริก แก้โรคเบาหวานดอกใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้ผายลมและเรอ