วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2554

ผักขี้หูด


หลังจากผ่านงานหนักมา...ช่วงนี้มีเวลาพักหายใจหน่อย...อาทิตย์ที่ผ่านมา รู้สึกอยากปลูกผักสวนครัว (แทนมะเขือเทศ ที่ไม่สำเร็จผล)....เลยออกไปซื้อเมล็ดพันธ์ ที่ร้านใกล้ๆ กับที่ลูกเรียนกีต้าร์ (หลังจากออกไปส่งลูก ก็เลยแวะซื้อซะหน่อย) ตอนแรกก็กะจะเอเฉพาะถั่วฝักยาว (post หน้า) แต่ไปเห็นซองผักที่คุ้นตา....ผักขี้หูด ซึ่งส่วนใหญ่เขาจะไม่ค่อยปลูกเป็นแปลงหลักกัน มักจะปลูกแซมไปกับแปลงผักกาด....ตอนเด็ก ก็เคยเห็นย่าปลูกบ่อยๆ.....

ส่วนใหญ่ผักขี้หูด มักจะใช้เป็นส่วนประกอบสำหรับแกงเลียง (แกงแค ทางเหนือนะ ไม่ใช่แกงเลียงภาคกลาง) ...หรือใครชอบลวกจิ้มน้ำพริก ก็อร่อยดี...ไม่ค่อยเห็นใครกินดิบๆ นะ...เพราะรดชาด จะเหม็นเขียวอย่างแรงเชียวล่ะ......

.....หลักจากเอาเพาะ แค่เพียง 3 วัน รดน้ำตอนเย็นวันละครั้ง ก็เห็นต้นอ่อนงอก..อย่างที่เห็นนี่แหละ.....
ถ้าสำเร็จขึ้นต้นใหญ่เมื่อไหร่ ค่อยมา update กันอีกที !!!!!

วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2554

วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554

มะยงชิด ลำปาง


ปลูกมาได้เกือบ 5 ปีแล้ว จะบอกว่าอายุราวๆ เท่ากับอายุของบ้านก็ว่าได้ เพราะปลูกได้ไม่นานหลังจากบ้านสร้างเสร็จ... ความสูงและขนาดต้นก็ไม่ค่อยโตขึ้นมาซักเท่าไหร่ เห็นคนปลูกบอกว่า ใช้เวลา 3 ปี เอาสแลมคลุมไว้แล้วลืมได้เลย...เมื่อ 2 ปีที่แล้วก็ดูเหมือนจะไม่มีอะไร เปลี่ยนแปลง ...ปีที่แล้วออกดอก และแล้วก็โรยไปหมดภายใน 1-2 สัปดาห์ ...มาปีนี้ออกดอกเหมือนกัน แต่ดูลักษณะดอกค่อนข้างแห้ง และดำ ก็นึกว่าเอาไว้ดูผลปีหน้าอีกทีก็แล้วกัน....และแล้ว ไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อเมื่อเห้็นผลของมะยงชิดเป็นปีแรก...เอาไว้รอดูว่าจะแห้งเหี่ยวไปอีกหรือไม่ แต่ได้เห็นผลเท่านี้ก็มีกำลังใจแล้วล่ะ........

เจ้าสัวใบพลิ้ว


ต้นนี้ปลูกไว้ตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ไม่ได้ post เพราะตอนซื้อมาต้นยังเล็ก ไม่ค่อยสวย มีใบอยู่ 3-4 ใบเอง และคิดว่าหลายๆ คนคงมีอยู่แล้ว...เช้าวันนี้ไปดู พบว่าเจ้าสัวงามขึ้นมาก เริ่มมีรากสีขาวที่โคนเห็นได้ชัดเจน
ตอนซื้อมา...ค่อนข้างแพง เมื่อเทียบกับขนาดลำต้น และราคาต้นอื่นๆที่ซื้อมา (120 บาท...)
...ลักษณะใบ ไม่ค่อยพลิ้ว เหมือนที่เคยเห็น ต้นที่สวยในรูป และต้นพ่อพันธุ์ที่ร้าน... หลายคนบอกว่าไม่ค่อยได้ถูกแสงแดด ไม่รู้ว่าจริงหรือเปล่า...แต่เราว่าอยู่ตรงในร่มศาลาดีแล้วแหละ เพราะถูกแดดจัดเกิดเฉาขึ้นมา เสียดายแย่เลย..กำลังงามอยู่ด้วย

วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

แสงจันทร์


ต้นนี้ได้มาโดยไม่คาดคิด...เมื่อประมาณ 2 สัปดาห์ ก่อนหลังเลิกงาน...ก่อนถึงบ้าน ก็แวะคุยกับลุง ที่ร้านต้นไม้ฝั่งตรงข้ามหมู่บ้าน ...ลุงแกก็คุยสนุก เล่าให้ฟังเกี่ยวกับกล้วยไม้ที่แกลองเพาะ... นึกถึงต้นไม้ชนิดหนึ่ง ที่ชอบ และเคยเห็นตั้งแต่อยู่โรงงานแก่งคอย (สระบุรี) ต้นสีขาวและใบอ่อนสีเหลืองนวล.....ลุงแกก็บอกชื่อได้ทันที ว่าแสงจันทร์ ....ที่ร้านของลุง มีอยู่ต้นหนึ่ง ถูกทิ้งไว้อยู่กลางแจ้ง กองๆรวมกันไว้อย่างไม่ค่อยมีใครสนใจมาก... พอได้เห็นก็รู้สึกถึงความอยากได้ทันที ส่วนตัวผมว่ารูปทรงก็พอใช้ได้นะ ถ้าได้ลงดินน่าจะสวยงามเลยแหละ....ตัดสินใจทันทีว่าจะเอาต้นนี้แหละ ทั้งๆ รู้ว่าคงไม่มีที่ปลูกที่บ้านแน่...แต่เอาไปก่อนดีกว่า....ถามราคาลุง แกก็คิดแค่ 50 บาท.... ก็เลยเจ้าต้นนี้มา....?ทิ้งไว้มุมบ้านเกือบสัปดาห์ ถึงได้รับอนุมัติจากแฟน ซื้อโอ่งมังกร มาปลูก..... ราคาโอ่ง 90 บาท แพงกว่าต้นไม้เสียอีก
แต่ก็เป็นไม้อีกต้น ที่เราแอบชอบมานาน............

(ตอนได้ต้นแสงจันทร์ต้นนี้มา ได้ต้นไม้ของแถม อีกต้น คือ เล็บครุฑ วันหลังมาเล่าใหม่ครับ...เพราะที่บ้านมีเล็บครุฑอยู่ 3-4 พันธุ์)



.........................................................
ข้อมูล search จาก web :

ชื่อสามัญ Lettuce Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pisonia alba
ลักษณะทั่วไป
แสงจันทร์เป็นไม้พุ่มชนิดหนึ่งที่มีใบบางค่อนข้างใหญ่สีเขียวอมเหลืองซึ่งแตกต่างกับไม้ทั่วไปที่มักมีใบสีเขียวเข้ม สีของใบจากต้นแสงจันทร์นี้มองดูแล้วเสมือนหนึ่งเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศที่น่าเบื่อจำเจเป็นบรรยากาศที่สวยสดได้

การดูแล
แสง -->ต้องการแสงแดดอ่อนรำไร จนถึงแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
น้ำ -->ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง
ดิน -->ชอบดินร่วนซุย มีความชื้นปานกลาง
ปุ๋ย -->ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 4-5 ครั้ง
การขยายพันธุ์ -->การปักชำ การตอน วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การปักชำ การตอน
โรค -->ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อสภาพธรรมชาติพอสมควร
แมลง -->เพลี้ยแป้ง (Mealy bugs)
อาการ -->สังเกตุเห็นกลุ่มเพลี้ยแป้งสีขาวเกาะอยู่ที่โคนใบหรือซอกใบต่อมาทำให้ใบสีเหลืองเหี่ยว

การขยายพันธ์
ต้นแสงจันทร์นี้นิยมขยายพันธ์ด้วยวิธีการปักชำกิ่ง เพราะได้ผลรวดเร็วและยังเป็นวิธีที่ง่าย สะดวกสำหรับกิ่งที่ใช้ปักชำนี้ควรเป็นกิ่งกึ่งอ่อนอึ่งแก่ซึ่งเลือกสังเกตดูจากลักษณะของกิ่งว่าไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไปนั้น ก็โดยดูว่าส่วนยอดเปลือกมีสีเขียวเข้ม โคนกิ่งว่าไม่แก่หรืออ่อนจนเกิดไปนั้น ก็โดยดูว่าส่วนยอดเปลือกมีสีเขียวเข้ม โคนกิ่งมีสีเทาจัดปนน้ำตาล หรือจะใช้กิ่งที่มียอดก็ได้ให้มีความยาวสัก610นิ้วเมื่อตัดมาแล้วก็ให้ทำการเด็ดใบช่วงล่างทิ้ง เหลือแต่ใบส่วนยอดเอาไว้ เพื่อช่วยลดอัตราการใช้อาหารและการคายน้ำแล้วนำไปปักชำลงในกระถางเพาะชำ และเพื่อช่วยลดอัตราการใช้อาหารและการคายน้ำแล้วนำไปปักชำลงในกระถางเพาะชำและเพื่อเป็นการป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นจากเชื้อรา อาจจุ่มยาป้องกันเชื้อรากันไว้ก่อนก็ได้ สำหรับดินเพาะชำ ควรเป็นดินผสมกาบมะพร้าวและขุยมะพร้าว ในอัตราส่วน 3 : 2 : 2 คลุกเคล้าให้เข้ากัน ช่วงที่ปักชำนี้หมั่นดูแลรดน้ำให้สม่ำเสมอ
โดยอุปนิสัยของแสงจันทร์แล้วชอบแสงแดดมาก หากต้องการให้ใบต้นแสงจันทร์มีสีออกเหลือง ก็ควรปลูกในบริเวณที่ต้นแสงจันทร์สามารถรับแดดได้ แต่ถ้าต้องการให้มีใบสีออกเขียวๆ ก็ไม่เป็น ต้นแสงจันทร์ที่ปลูกนี้พอโตขึ้นจะแตกกิ่ง แตกใบ เป็นทรงพุ่มที่สวยงามยิ่ง

วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

ดีปลากั้ง


ตอนแรกก็เข้าใจผิดว่าชื่อ "ดีหมี"
ไม่แน่ใจว่าเป็น ชื่อเรียกตามภาษาเหนือ หรือ ทั่วๆไป, แต่ที่แน่ๆ คนทางภาคเหนือน่าจะพอคุ้นๆ โดยเฉพาะคนที่ชอบกินลาบ (ลาบเหนือนะครับ) ครั้งแรกที่ได้ลองกิน ก็เนื่องมาจากไปซื้อลาบหมู (สุกนะครับ) ที่ร้านอุ้ยทา แถวๆ แพะหนองแดง..... พอได้กินจะได้รสชาด ที่ชัดเจนที่สุด คือรสขม ที่ปนด้วยรสหวานเฉียบ.....ขมและหวานจนติดลิ้น (ต้องได้ลองเองถึงจะเข้าถึง).....

ต้นนี้ได้มา ก็เนื่องจากไปซื้อลาบร้าน อุ้ยทา เหมือนเดิม ..... ก็คุยกับอุ้ย (แม่ครัว) เรื่องต้นดีปลากั้งอยู่...พอดีไปเจอกับเพื่อโรงปูนด้วยกัน (พี่ประสิทธิ์)...พอเขารู้ว่าเราสนใจ เขาก็ใจดีมาก ยกต้นกล้าที่กำลังเพาะให้ต้นหนึ่ง (เอามาให้ที่ทำงานตอนหลัง)..... ถึงแม้คิดว่าราคาจะไม่ได้แพงมากนัก (คิดว่า) แต่เนื่องจากเป็นต้นไม้ที่เราต้องการอย่างมาก ...ทำให้เรารู้สึกดีใจสุดๆ ....ต้นนี้อนุบาลไว้ที่หลังบ้าน (ใกล้ต้นกล้วย) ให้ราก/งอก มากๆ หน่อยจะลงกระถางสวยๆ......

อยากให้พ่อ ได้ชิมจัง!!!





....................................................................................
ข้อมูลจาก web :

ชื่อพื้นเมือง : ดีปลากั้ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barleria strigosa Willd.
ชื่อวงศ์ :ACANTHACEAE
ลักษณะทั่วไป: "สังกรณี" ถูกบรรจุเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง เพราะมีสรรพคุณทางยาพื้นบ้านหลายขนาน โดยในหมู่ของชาวล้านนาที่ใช้ทั้งต้นมาต้มน้ำดื่ม เป็นยาบำรุงกำลัง ส่วนรากผสมสมุนไพรตำรับที่ 5 ต้มดื่มน้ำเช่นกัน เป็นยาร้อนสามารถขับน้ำคาวปลาหลังคลอดบุตรได้ ขณะที่ตามตำรายาไทยใช้รากต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ แก้โลหิตกำเดา แก้ร้อนในกระหายน้ำ ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ เป็นต้น เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กกึ่งล้มลึก อยู่ในวงศ์CANTHACEAE ลำต้นตรง เปลือกต้นสีเทา เรียบ สูงราว 30-100 ซม. ใบ เป็นใบเดี่ยวขึ้นเรียงตรงข้ามตามต้น รูปทรงรี กว้าง 4-7 ซม. ยาว 10-15 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ มีเส้นแขนงใบ 5-7คู่ ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบและปลายยอด แต่ละช่อมีดอกย่อยเล็กจำนวนมาก ดอกย่อยไม่มีก้าน เวลาบานกลีบดอกย่อยสีม่วงแกมน้ำเงิน ที่ปลายกลีบแยกเป็นสองปาก มีกลีบเลี้ยงปลายแยกเป็น 4 แฉก ผล รูปทรงแบน พอแก่จัดจะแห้งและแตกได้ในที่สุด พืชชนิดนี้ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สรรพคุณ : ราก - ต้มแก้ไข้และแก้หืดหอบโรคความดัน
ลำต้น - ต้มบำรุงโลหิตบำรุงธาตุขับลมในลำไส้
ใบ - ใช้ปรุงอาหาร มีรสขม ใบอ่อน
ยอด - สด รับประทานกับอาหารประเภท ลาบ ป่น ต้มจิ้มน้ำพริก แก้โรคเบาหวานดอกใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้ผายลมและเรอ

วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

ธรณีสาร


หลังจากที่เสาะหา "ธรณีสาร" มาปลูกอยู่ เกือบครึ่งปี... และแล้วก็มาพบ (โดยบังเอิญ) ที่งานฤดูหนาว ที่ลำปางนี่เอง.....ราคาก็ไม่แพงเท่าหร่ ต้นละ 50 บาท (แต่คนขายเขาบอกว่า แพงขึ้นมากแล้ว ตั้งแต่หมอลักษณ์ ฟันธงไว้ เมื่อต้นปีที่แล้ว ... ก่อนนั้นราคาแค่ต้นละ 10 บาท ยังไม่ค่อยมีคนซื้อเลย....ผ่านมา 1 ปี ที่บ้านเราก็เพิ่งมี 1 ต้นนี่แหละ...... ตอนแรก ที่ซื้อไม่ใช่ เพราะตามกระแส อะไรหรอก (เพราะถ้าตาม...ก็คงตามอยู่มากโข ก็ผ่านมาเป็นปีแล้วนี่นา).....ก็จากการหาข้อมูลสรรพคุณ จาก web นี่แหละ.....
........จุดที่ปลูก... เป็นจุดที่เคยขุดไว้ กะว่าจะปลูกต้นโคมญี่ปุ่น นั่นแหละ...แต่ขุดไปได้แค่ 1 ฝ่ามือ ก็ท้อแล้ว ต้องเลิกขุดเลย เพราะเจอว่า พรรคพวกที่สร้างบ้าน ดันเทคอนกรีต (เหลือทิ้ง) เป็นแผ่นยาวเลย......ก็เลยใช้การปลูกกระถางแทน...ตั้งใจปลูกตรงจุดนี้ เพราะเป็นบริเวณที่ว่าง....ปล่อยว่างแล้วรู้สึกว่าขาด..ไม่สวย และเป็นบริเวณหน้าบ้าน .....ดูรวมๆแล้วก็น่าจะเหมาะดีนะ.....................

5/2/11 update รูปปัจจุบัน ตอนนี้ออกดอกเกือบทุกก้านเลยครับ


............................................................................................
ข้อมูลจาก web :

ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus pulcher Wall
วงศ์ EUPHORBIACEAE
ชื่อท้องถิ่น ชาวบ้านทั่วไปเรียก เสนียด ธรนีสาร เชียงใหม่เรียกว่า มะขามป้อมดิน ชาวจีนเรียก เอี้ยเอโท้

ลักษณะของพืช »
ต้นธรณีสารนี้นับว่าเป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดเล็กพันธุ์หนึ่ง เป็นพันธุ์ไม้ที่แตกแยกกิ่งก้านออกไปอย่างสวยงาม เป็นพุ่ม ลำต้นและ
กิ่งก้านสูงประมาณ 1 ฟุต นับว่าเตี้ยมาก ใบสีเขียวใบไม้สด คล้ายกับไบมะยมแต่เล็กกว่าใบมะยม คือใบจะกว้างใหญ่ขนาดใบแคเท่านั้นเอง แยกออกมาจากลำต้น ดอกเล็กๆ สีแดงมีกลีบ 6 กลีบด้วยกันแต่อยู่ที่ใต้ใบ เรียงคู่กันไป แล้วจะเป็นฝัก มองดูแปลกดีเหมือนลูกใต้ใบ

การปลูก »
ต้นธรณีสารนี้ปลูกกันโดยทั่วไป ส่วนมากเป็นตามวัดวาอารามและตามบ้านในชนบท เพราะปลุกง่ายดูแลก็ไม่ยาก การขยายพันธุ์ก็แยกต้นออกไปปลูกก็ได้ เพาะเมล็ดก็ได้ พอเป็นกล้าไม้ก็เอาไปปลูกในถุงพลาสติกจนเติบโตแข็งแรงดีจึงเอาไปปลูกในหลุมที่มีปุ๋ยคอกรองก้นหลุม รดน้ำพรวนดินกำจัดศัตรูพืชให้ดี ในระยะแรก

ส่วนที่ใช้เป็นยา »
นิยมเอาไปทำการปัดรังควาญด้วยการเอาใบและก้านมาใช้ประพรมน้ำมนต์แก่ผู้คนทั่วไปเพื่อทำการปัดรังควาญและเอาสิ่งที่ไม่ดีออกไปจากร่างกายเอาเสนียดจัญไรออกไปให้หมด ยังไม่ปรากฎว่าเอาส่วนใดของต้นพืชชนิดนี้ไปปรุงเป็นยาเลย

โคมญี่ปุ่น


ปลายปีที่แล้ว (ดูเหมือนนานนะ) ,มีโกาสได้ไปโครงการหลวง ดอยอินทนนท์ เพื่อไปเลี้ยงส่งพี่และน้อง ที่จะย้ายไทำงานแถวภาคกลาง , ดูเหมือนเราก็คงจะถึงคิว ในอีกไม่นานแล้วเหมือนกัน เพราะอยู่ที่ลำปางนี่ก็เกือบจะ 5 ปีแล้ว ครั้งนี้ก็เป็นครั้งที่สองแล้ว ที่มีโอกาสมาค้างที่นี่...... ส่วนตัวแล้วค่อนข้างชอบ เพราะที่นี่ จัดสวนได้สวย และมีพันธืไม้แปลกๆ เยอะอยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะเฟริ์นและไม้เมืองหนาว.....


ขากลับ คราวนี้ได้ซื้อเจ้าต้นโคมญี่ปุ่น มา 3 ต้น (2 พันธ์ุุ) มาลองปลูกที่บ้านดู..... ตอนแรกก็ไม่อยากจะซื้อเพราะกลัวจะไม่ถูกับอากาศแถวลำปาง เพราะหน้าร้อนจะร้อนจัดเอามากๆ......แต่ยังไงก็ลองปลูกดู อย่างมากก็ตาย......เพราะชอบดอกของโคมญี่ปุ่น เพราะสวยมาก สีสดใส.....นับตั้งแต่วันที่ปลูก (24/12) นับได้ก็ 12 วันแล้ว... แต่ดอกก็ยังไม่ร่วม และมีดอกเล็กๆ ออกมาอีก (ก็ใช้ได้เกินคาดแล้ว).....ตัวต้นก็ยังสดชื่น ไม่มีอากการโรย.....นี่ถ้าผ่านหน้าร้อนนี้ไปได้ ก็สุดยอดแล้ว..........

....ที่ซื้อมามี 2 พันธ์ (จากรูป, ซึ่งอาจจะไม่ค่อยชัด เนื่องจากถ่ายตอนค่ำแล้ว) คือ ดอกสีบานเย็น+ม่วง และอีกต้น สีขาว+ชมพู .......ดูแล้วก็สวยทั้งคู่ >>>> เพิ่มสีสรร ให้บ้านได้อย่างมากเลย !!!!

................................................................................................................................
information searched from web :

ดอกไม้พันธุ์นี้ เรียก ตุ้มหูนางฟ้า เพราะกว่า น่ารักกว่า และสอดคล้องกับลักษณะอันแสนงามมากกว่า เรียกว่าโคมญี่ปุ่น ลองชมความงามของเขาซี แล้วจะไม่อยากเรียกว่า โคมญี่ปุ่นหร็อก เพราะเขางามเหมือนตุ้มหูของนางฟ้า ที่หยาดลงมาจากฟากฟ้าจริง ๆจะเห็นว่า นางฟ้ามีตุ้มหูหลายแบบ หลายสไตล์ ต่างกันทั้งในด้านรูปพรรณสัณฐาน และสีสันที่สวยงาม ดอกไม้พันธุ์นี้จึงสมควรเรียกว่า "ตุ้มหูนางฟ้า" จริง ๆ
ชื่อพื้นเมือง ตุ้มหูนางฟ้า , โคมญี่ปุ่น
ชื่อสามัญ Fuchsia, Lady's Eardrops
ชื่อวิทยาศาสตร์ Fuchsia hybrids
วงศ์ ONAGRACEAE
ฟุกเซีย หรือ ฟิวเซีย เป็นไม้ดอก ลำต้นมีทั้งชนิดพุ่มและชนิดเลื้อย บางพันธุ์มีลำต้นสีแดงเลือดหมู ใบรูปไข่หรือใบหอก ขอบจักฟันเลื่อย ดอกเดี่ยวหรือออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ มีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน ดอกรูปถ้วยคว่ำ กลีบเลี้ยงรูปรีแกมไข่ มี 4 กลีบ ปลายโค้งขึ้น กลีบดอก 4 กลีบหรือมากกว่า ซ้อนเกยกันอยู่กลางดอก กลีบดอกมีสีขาว ชมพู แดง ม่วง และสองสีในดอกเดียวกัน ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือปักชำกิ่ง