วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

สมาชิกใหม่ (เศรษฐีก้านป่อง +เฟิร์น?)

สายๆ วันมาฆะ  ที่ผ่านมานี้...ว่าจะหาเช่าหนังสนุกๆ มาดูซักเรื่อง..แต่ก็ผิดหวัง เพราะพวกที่ออกใหม่ๆ คนก็แย่งเช่าไปซะหมดแล้ว....
ขากลับเลยแวะคุยกับ...พี่ที่ร้านต้นไม้ (ทางผ่าน) ซะหน่อย...หลังจากที่ไม่ได้แวะไปค่อนข้างนาน... สุดท้าย...ก็ได้เสียตังค์ จนได้...

ต้นแรก...ก็เจ้า "เศรษฐีก้านป่อง" ...ซึ่งก็คงไม่ได้หายากอะไรตอนนี้  (เพียงแต่ที่บ้าน ยังไม่มี).....กว่าจะได้มาลงกระถางที่บ้าน...ก็ไปคุยป้อกับเจ้าของร้านอยู่นานพอสมควร ....กว่าแกจะยอมขายให้......เห็นหน่วยก้านแล้ว โตมาท่าทางจะสวยเอาเรื่องอยู่ (มีใบแหว่งอยู่ใบนึง..ไม่น่าจะเป็นปัญหา)....









ก่อนออกจากร้าน ...ตาเจ้ากรรมก็ไปเจอเฟิร์น..อีกกระถาง..ซุกอยู่ตรงมุมร้าน...สะดุดตากับลักษณะใบที่พริ้วสวยมากๆ แต่ก็ค่อนข้างแข็งแรง.... ดูจะไม่ค่อยถอดใจกับอากาศหน้าร้อนของลำปาง ง่ายๆ...ที่สำคัญมีอยู่หลายกอ...อาจจะเป็นเพราะเจ้าของร้าน ยังไม่ได้แยกออกมาก็เป็นได้.....พยาม search หาชื่อใน web แล้ว...ยังไม่เจอครับ (ตอนแรกคิดว่าเป็น "ปันหยี" แต่ดูแล้วปลายใบแตกต่างกันมาก....
......ท่านผู้รู้ช่วยบอกทีนะครับ...


วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555

สับปะรดสี

ช่วงนี้ฮิต ปลูกสับปะรดสีกันเยอะ...เลยลองซื้อมาลงกระถาง 1 ต้น (150 บาท..แพงไปมั้ยน๊า.....) เห็นคนขายบอกว่า ทดแดดนักแล... click อ่านข้อมูลจาก web แล้ว..มีหลายสายพันธุ์ มากๆ ดูผ่านๆ แล้วลายตาเป็นที่สุด...
.....................................................................................................
 บทความจาก web ...
 Bromeliad หรือสัปรดสี มีลักษณะเป็นกอ สูง 5-40 เซนติเมตร มีมากมายหลายชนิด หลายขนาดและหลายรูปทรง ใบมีสีสวยจึงใช้เป็นไม้กระถางประดับโดยไม่ต้องรอดอกเราสามารถ ให้สับปะรดสีผลิ ดอกได้ ้ตามช่วงเวลาที่ต้องการโดยใช้สารเคมีบางประเภทฃ การรดน้ำควรให้ขังตามซอกใบ ต้นจะดูดซึมน้ำไปใช้ได้ จัดเป็นจุดเด่นแทนดอกไม้ได้ขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ

Family : Bromelidceae Bromelieds หรือสับปะรดสี “สับปะรดประดับ “มีถิ่นกำเนิดแถบทวีปเอมริกาเกือบทั้งนั้น พบอยู่ในทวีปแอฟริกาใต้เพียงชนิดเดียว คือ Pilcairnaia feliciana เป็นพืชที่ขึ้นได้ตั้งแต่ป่าดงดิบชื้นที่สุด ถึงอากาศแล้งของทะเลทรายส่วนใหญ่เป็นพืชกระจายพันธุ์ตั้งแต่อเมริกากลางจาก เวอร์จิเนีย เม็กซิโก และจากอินดิสตะวันออกถึงกลางประเทศอาร์เจนตินาและชิลี สับปะรดสีอยู่ใน
สกุลBromelidceae มีประมาณ60 สกุล และมากกว่า 2000 ชนิด แต่ที่นิยมปลูกในปัจจุบันมีอยู่10 ชนิดคือ 1. Ananas 2. Aechmea 3. Billbergia 4. Cryptanthus 5. Dyckia 6. Guzmania 7. Neoregelia 8. Nidularium 9. Tillandria 10. Vriesia

 วิธีการปลูกต้นสับปะรดสี ควรคำนึงถึงสภาพความแตกต่างของ Bromeliad ทั้งสองกลุ่มด้วยกัน คือ 1. ประเภทไม้ดิน ได้แก่ พันธุ์ต่าง ในสกุล Ananas,Quesnelia,Puya,Wittrockia,Portea จะปลูกเป็นไม้ ดินเท่านั้น กรณีปลูกลงกระถางควรเตรียมวัสดุปลูกดังนี้ ดินร่วน 2 ส่วน ทรายหยาบ 1 ส่วน ใบไม้ผุ หรือ 1 ส่วน(เปลือกถั่ว, ขุยมะพร้าว,แกลบดำ) ปุ๋ยหมัก 1 ส่วน 2. ประเภทอากาศได้แก่พันธุ์ต่างๆในสกุลAechmia,Cryptanthus,Tillandsia,Guzmania,Neoregelia,Vriesia เป็นต้น 

กรณีปลูกลงกระถางวัสดุปลุกมีหลายสูตร แล้วแต่สะดวกในการจัดหา ดังนี้ สูตรที่ 1 ดิน 1 ส่วน ทรายหยาบ 1 ส่วน พีท 1 ส่วน ใบไม้ผุ 1 ส่วน ออสมันด้า 1 ส่วน สูตรที่ 2 พีทมอส 1 ส่วน เพอร์ไลท์ 1 ส่วน สูตรที่ 3 ใยมะพร้าวล้วนๆ กรณีปลูกบนใบไม้แห้งหรืออุปกรณ์ต่างๆ เช่น ก้อนหิน เปลือกหอย เครื่องสานต่างๆ สกุลที่นิยมปลูกแบบนี้ ได้แก่ Aechmia, Tillandsia,Vriesia การดูแลรักษา สับปะรดสี 1. แสงสว่าง ถ้าแสงสว่างเหมาะสม ทำให้สีสันของใบและดอกเปล่งปลั่งเป็นเงางาม เช่น - ถ้าต้องการแสงเต็มวันและอยู่กลางแจ้ง เช่น สกุล Puyas, Dyckias และ Heachlias - ต้องการแสงร่มรำไร เช่น สกุล Aechmeas, Neorogelias, Billbergias, Guzmania, Nidularium, Tillandsia 2. อุณหภูมิ แต่ละสกุลแต่ละสายพันธุ์มีความต้องการอุณหภูมิที่แตกต่างกัน โดยรวมแล้วอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 18-26 องศาเซลเซียส 3. การให้น้ำ ควรคำนึงถึงลักษณะของใบ โดยทั่วไปมี 2 แบบ คือ - ใบสามเหลี่ยมแคบ มีเกร็ดสีเทาปกคลุมอยู่ พวกนี้จะเก็บน้ำตามเนื้อเยื่อของใบ และปรับตัวเข้ากับสภาพแล้งได้ดี ได้แก่สกุล Tillandsie และ Dackias กรรีหน้าแล้งและหน้าหนาว อาจจะพ่นน้ำให้ทุก 3-5 วัน บางชนิดอาจถึง 7 วัน - ใบเป็นแผ่นแบนเรียบ เช่น ใบสัปรดทั่วไป ได้แกสกุล Aechmea, Guzmania, Neoregelia, Ananas, Cryptanthus, Vriesia พวกนี้จะมีแอ่งน้ำอยู่บนยอด อาจรดน้ำทุกๆ 2-4 วัน 4. การให้ปุ๋ย - ใช้ปุ๋ยละลายช้าผสมลงในวัสดุปลูก โดยท่วไปใช้ปุ๋ยออสโมโค้ท สูตร 14-14-14 - ใช้ปุ๋ยเกร็ดละลายน้ำฉีดพ่นทุกๆสัปดาห์ ต่อครั้ง โดยใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 20-20-20 หรือ 18-18-18 5. ความชื้น ควรใช้ความชื้นประมาณ 30-50% การแยกหน่อ วิธี การนั้นง่ายมากๆ เมื่อสับปะรดสีมีดอกแล้วเขาจะแทงหน่อออกมาจำนวนมาก ต้นแม่ที่ติดดอกจะค่อยแห้งตายไป พอหน่อโตแข็งแรงพอสมควรแล้ว (สังเกตใบแข็งๆ ไม่อ่อนนิ่ม) ก็แยกจากต้นแม่ ถ้าไม่ชัวร์ว่าหมดหรือยัง หักมาแต่หน่อก็ได้ค่ะ ไม่ต้องถอนรากถอนโคนแบบอิฉัน ที่อิฉันขุดออกมาหมดเพราะกระถางเดิมมันจะปริแล้ว หน่อดันค่ะ หน่อ เขาจะติดกับต้นแม่ด้วยลำต้นแท้จริงเป็นก้านแข็งๆ (จินตนาการเอาเพราะส่วนมากก้านนี้จะจมอยู่ในเครื่องปลูก) พยายามหักหรือใช้เสียมคมตัดก้านนี้ให้ได้เนื้อก้านแยะ อย่าตัดโดนยอดที่หุ้มด้วยกาบใบสวยๆ นั่นจะไม่รอดจ้ะ

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2554

ผักขี้หูด


หลังจากผ่านงานหนักมา...ช่วงนี้มีเวลาพักหายใจหน่อย...อาทิตย์ที่ผ่านมา รู้สึกอยากปลูกผักสวนครัว (แทนมะเขือเทศ ที่ไม่สำเร็จผล)....เลยออกไปซื้อเมล็ดพันธ์ ที่ร้านใกล้ๆ กับที่ลูกเรียนกีต้าร์ (หลังจากออกไปส่งลูก ก็เลยแวะซื้อซะหน่อย) ตอนแรกก็กะจะเอเฉพาะถั่วฝักยาว (post หน้า) แต่ไปเห็นซองผักที่คุ้นตา....ผักขี้หูด ซึ่งส่วนใหญ่เขาจะไม่ค่อยปลูกเป็นแปลงหลักกัน มักจะปลูกแซมไปกับแปลงผักกาด....ตอนเด็ก ก็เคยเห็นย่าปลูกบ่อยๆ.....

ส่วนใหญ่ผักขี้หูด มักจะใช้เป็นส่วนประกอบสำหรับแกงเลียง (แกงแค ทางเหนือนะ ไม่ใช่แกงเลียงภาคกลาง) ...หรือใครชอบลวกจิ้มน้ำพริก ก็อร่อยดี...ไม่ค่อยเห็นใครกินดิบๆ นะ...เพราะรดชาด จะเหม็นเขียวอย่างแรงเชียวล่ะ......

.....หลักจากเอาเพาะ แค่เพียง 3 วัน รดน้ำตอนเย็นวันละครั้ง ก็เห็นต้นอ่อนงอก..อย่างที่เห็นนี่แหละ.....
ถ้าสำเร็จขึ้นต้นใหญ่เมื่อไหร่ ค่อยมา update กันอีกที !!!!!

วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2554

วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554

มะยงชิด ลำปาง


ปลูกมาได้เกือบ 5 ปีแล้ว จะบอกว่าอายุราวๆ เท่ากับอายุของบ้านก็ว่าได้ เพราะปลูกได้ไม่นานหลังจากบ้านสร้างเสร็จ... ความสูงและขนาดต้นก็ไม่ค่อยโตขึ้นมาซักเท่าไหร่ เห็นคนปลูกบอกว่า ใช้เวลา 3 ปี เอาสแลมคลุมไว้แล้วลืมได้เลย...เมื่อ 2 ปีที่แล้วก็ดูเหมือนจะไม่มีอะไร เปลี่ยนแปลง ...ปีที่แล้วออกดอก และแล้วก็โรยไปหมดภายใน 1-2 สัปดาห์ ...มาปีนี้ออกดอกเหมือนกัน แต่ดูลักษณะดอกค่อนข้างแห้ง และดำ ก็นึกว่าเอาไว้ดูผลปีหน้าอีกทีก็แล้วกัน....และแล้ว ไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อเมื่อเห้็นผลของมะยงชิดเป็นปีแรก...เอาไว้รอดูว่าจะแห้งเหี่ยวไปอีกหรือไม่ แต่ได้เห็นผลเท่านี้ก็มีกำลังใจแล้วล่ะ........

เจ้าสัวใบพลิ้ว


ต้นนี้ปลูกไว้ตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ไม่ได้ post เพราะตอนซื้อมาต้นยังเล็ก ไม่ค่อยสวย มีใบอยู่ 3-4 ใบเอง และคิดว่าหลายๆ คนคงมีอยู่แล้ว...เช้าวันนี้ไปดู พบว่าเจ้าสัวงามขึ้นมาก เริ่มมีรากสีขาวที่โคนเห็นได้ชัดเจน
ตอนซื้อมา...ค่อนข้างแพง เมื่อเทียบกับขนาดลำต้น และราคาต้นอื่นๆที่ซื้อมา (120 บาท...)
...ลักษณะใบ ไม่ค่อยพลิ้ว เหมือนที่เคยเห็น ต้นที่สวยในรูป และต้นพ่อพันธุ์ที่ร้าน... หลายคนบอกว่าไม่ค่อยได้ถูกแสงแดด ไม่รู้ว่าจริงหรือเปล่า...แต่เราว่าอยู่ตรงในร่มศาลาดีแล้วแหละ เพราะถูกแดดจัดเกิดเฉาขึ้นมา เสียดายแย่เลย..กำลังงามอยู่ด้วย

วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

แสงจันทร์


ต้นนี้ได้มาโดยไม่คาดคิด...เมื่อประมาณ 2 สัปดาห์ ก่อนหลังเลิกงาน...ก่อนถึงบ้าน ก็แวะคุยกับลุง ที่ร้านต้นไม้ฝั่งตรงข้ามหมู่บ้าน ...ลุงแกก็คุยสนุก เล่าให้ฟังเกี่ยวกับกล้วยไม้ที่แกลองเพาะ... นึกถึงต้นไม้ชนิดหนึ่ง ที่ชอบ และเคยเห็นตั้งแต่อยู่โรงงานแก่งคอย (สระบุรี) ต้นสีขาวและใบอ่อนสีเหลืองนวล.....ลุงแกก็บอกชื่อได้ทันที ว่าแสงจันทร์ ....ที่ร้านของลุง มีอยู่ต้นหนึ่ง ถูกทิ้งไว้อยู่กลางแจ้ง กองๆรวมกันไว้อย่างไม่ค่อยมีใครสนใจมาก... พอได้เห็นก็รู้สึกถึงความอยากได้ทันที ส่วนตัวผมว่ารูปทรงก็พอใช้ได้นะ ถ้าได้ลงดินน่าจะสวยงามเลยแหละ....ตัดสินใจทันทีว่าจะเอาต้นนี้แหละ ทั้งๆ รู้ว่าคงไม่มีที่ปลูกที่บ้านแน่...แต่เอาไปก่อนดีกว่า....ถามราคาลุง แกก็คิดแค่ 50 บาท.... ก็เลยเจ้าต้นนี้มา....?ทิ้งไว้มุมบ้านเกือบสัปดาห์ ถึงได้รับอนุมัติจากแฟน ซื้อโอ่งมังกร มาปลูก..... ราคาโอ่ง 90 บาท แพงกว่าต้นไม้เสียอีก
แต่ก็เป็นไม้อีกต้น ที่เราแอบชอบมานาน............

(ตอนได้ต้นแสงจันทร์ต้นนี้มา ได้ต้นไม้ของแถม อีกต้น คือ เล็บครุฑ วันหลังมาเล่าใหม่ครับ...เพราะที่บ้านมีเล็บครุฑอยู่ 3-4 พันธุ์)



.........................................................
ข้อมูล search จาก web :

ชื่อสามัญ Lettuce Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pisonia alba
ลักษณะทั่วไป
แสงจันทร์เป็นไม้พุ่มชนิดหนึ่งที่มีใบบางค่อนข้างใหญ่สีเขียวอมเหลืองซึ่งแตกต่างกับไม้ทั่วไปที่มักมีใบสีเขียวเข้ม สีของใบจากต้นแสงจันทร์นี้มองดูแล้วเสมือนหนึ่งเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศที่น่าเบื่อจำเจเป็นบรรยากาศที่สวยสดได้

การดูแล
แสง -->ต้องการแสงแดดอ่อนรำไร จนถึงแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
น้ำ -->ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง
ดิน -->ชอบดินร่วนซุย มีความชื้นปานกลาง
ปุ๋ย -->ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 4-5 ครั้ง
การขยายพันธุ์ -->การปักชำ การตอน วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การปักชำ การตอน
โรค -->ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อสภาพธรรมชาติพอสมควร
แมลง -->เพลี้ยแป้ง (Mealy bugs)
อาการ -->สังเกตุเห็นกลุ่มเพลี้ยแป้งสีขาวเกาะอยู่ที่โคนใบหรือซอกใบต่อมาทำให้ใบสีเหลืองเหี่ยว

การขยายพันธ์
ต้นแสงจันทร์นี้นิยมขยายพันธ์ด้วยวิธีการปักชำกิ่ง เพราะได้ผลรวดเร็วและยังเป็นวิธีที่ง่าย สะดวกสำหรับกิ่งที่ใช้ปักชำนี้ควรเป็นกิ่งกึ่งอ่อนอึ่งแก่ซึ่งเลือกสังเกตดูจากลักษณะของกิ่งว่าไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไปนั้น ก็โดยดูว่าส่วนยอดเปลือกมีสีเขียวเข้ม โคนกิ่งว่าไม่แก่หรืออ่อนจนเกิดไปนั้น ก็โดยดูว่าส่วนยอดเปลือกมีสีเขียวเข้ม โคนกิ่งมีสีเทาจัดปนน้ำตาล หรือจะใช้กิ่งที่มียอดก็ได้ให้มีความยาวสัก610นิ้วเมื่อตัดมาแล้วก็ให้ทำการเด็ดใบช่วงล่างทิ้ง เหลือแต่ใบส่วนยอดเอาไว้ เพื่อช่วยลดอัตราการใช้อาหารและการคายน้ำแล้วนำไปปักชำลงในกระถางเพาะชำ และเพื่อช่วยลดอัตราการใช้อาหารและการคายน้ำแล้วนำไปปักชำลงในกระถางเพาะชำและเพื่อเป็นการป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นจากเชื้อรา อาจจุ่มยาป้องกันเชื้อรากันไว้ก่อนก็ได้ สำหรับดินเพาะชำ ควรเป็นดินผสมกาบมะพร้าวและขุยมะพร้าว ในอัตราส่วน 3 : 2 : 2 คลุกเคล้าให้เข้ากัน ช่วงที่ปักชำนี้หมั่นดูแลรดน้ำให้สม่ำเสมอ
โดยอุปนิสัยของแสงจันทร์แล้วชอบแสงแดดมาก หากต้องการให้ใบต้นแสงจันทร์มีสีออกเหลือง ก็ควรปลูกในบริเวณที่ต้นแสงจันทร์สามารถรับแดดได้ แต่ถ้าต้องการให้มีใบสีออกเขียวๆ ก็ไม่เป็น ต้นแสงจันทร์ที่ปลูกนี้พอโตขึ้นจะแตกกิ่ง แตกใบ เป็นทรงพุ่มที่สวยงามยิ่ง